Skip to content

olearning.siam.edu

153-426 การออกแบบอาคาร Print E-mail
(Read : 5724 times)

รายละเอียดลักษณะของรายวิชา แบบ มคอ.3 : Download

อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร. จรูญ รุ่งอมรรัตน์

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ

ศึกษาทั่วไป
หมายเหตุ
Slide เอกสาร
แบบทดสอบ
1

การวางรูปแบบทางสถาปัตยกรรม :
Introduction to concepts of structural design;
ระบบโครงสร้างอาคารสูง : Rigid Frame, Shear Wall, Frame+Shear Wall, Belt Truss Outrigger, Framed Tube, Trussed Tube, Bundled Tube;
ระบบพื้น : One-way slab, Two-way slab with beams, Flat plate, Flat slab, Waffled slab, Ribbed slab, Post-tensioned slab, Composite slab

youtube

2

การออกแบบพื้นสองทางโดยวิธีใช้สูตรสำเร็จ (Direct Design Method): ความหนาต่ำสุดของพื้นระบบ  Flat Plate และ Flat Slab, การกระจายโมเมนต์ภายในแผ่นพื้น, การพิจารณา  Pattern Loadings,  ตัวอย่างการหาโมเมนต์ของพื้น Flat Plate

 

 

 

 

3

การออกแบบพื้นสองทางโดยวิธีใช้สูตรสำเร็จ: โมเมนต์ในเสาและการถ่ายโมเมนต์ไปยังเสา, รายละเอียดการเสริมเหล็ก, การหาพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริม, การเสริมเหล็กใน Flat Plate และ Flat Slab, ตัวอย่างการออกแบบแผ่นพื้นไร้คาน

 

 

 

 

4

การออกแบบพื้นสองทางโดยวิธีเฟรมเสมือน (Equivalent Frame Method): การวิเคราะห์เฟรมเสมือนสำหรับแรงในแนวดิ่ง, การหา Stiffness, Carryover และ Fixed-End Moments,  คุณสมบัติของ Slab-Beams

 

 

 

5

การออกแบบพื้นสองทางโดยวิธีเฟรมเสมือนตัวอย่าง: Calculation of the Moment Distribution Constants for a Flat-Plate Floor & Two-Way Slab with Beams;  Torsional Members and Equivalent Columns, Arrangement of Live loads for Structural Analysis, Example : Design a Flat-Plate Floor using the Equivalent Frame Method

 

 

 

6

การออกแบบระบบแผ่นพื้นไร้คานชนิดคอนกรีตอัดแรงภายหลัง (Post-Tensioned Slabs) : ลักษณะของพื้นระบบ Post-Tensioned Slab, การเปรียบเทียบ Post-Tension ระบบ Bonded & Unbounded, การก่อสร้างพื้น Post-Tension, การออกแบบ Post-Tensioned Slab

 

 

 

7

การออกแบบระบบแผ่นพื้นไร้คานชนิดคอนกรีตอัดแรงภายหลัง (Post-Tensioned Slabs) : ตัวอย่างการออกแบบ: One-way Slab Parking Structure, Flat Plate Apartments, Two-way Slab with Drop Panels

 

 

 

 

 8

การวิเคราะห์เฟรม (Frame Analysis):
การวิเคราะห์โครงข้อแข็งรับแรงกระทำทางข้าง (Laterally Loaded Rigid Frame) โดยวิธีพอร์ทอล (Portal Method)

 

 

 

 

9 สอบกลางภาค

 

 

10

การวิเคราะห์เฟรม (Frame Analysis): (ต่อ)
ตัวอย่างการวิเคราะห์โครงข้อแข็งรับแรงกระทำทางข้าง

 

 

 

11

การทำงานระหว่างเฟรมกับผนัง (Frame-Shear Wall Ineraction) : วิธีการวิเคราะห์อย่างง่ายสำหรับอาคารที่ประกอบด้วยกำแพงและโครงข้อแข็งที่มีผนังสมมาตร, สภาวะสมดุลของแรงทางข้าง (Lateral Equilibrium),
ตัวอย่างการวิเคราะห์การทำงานระหว่างเฟรมกับผนัง

 

 

 

12

ผนังต้านแรงเฉือน (Shear Wall Design) :
พฤติกรรมการต้านแรงของผนัง, การกระจายแรงตามส่วนต่าง ๆ ของผนัง การออกแบบสำหรับแรงดัดและแรงอัด

 

 

 

 

13

ผนังต้านแรงเฉือน (Shear Wall Design) : (ต่อ)
การออกแบบสำหรับแรงเฉือน กรณีพิเศษของผนังต้านแรงเฉือน   ตัวอย่างการออกแบบผนังต้านแรงเฉือน

 

 

 

 

14

การออกแบบฐานรากของอาคารสูง (Foundation Design for High-Rise Building) :
หลักการออกแบบฐานราก, การออกแบบป้องกันการวิบัติของดิน การออกแบบเสาเข็มเพื่อป้องกันการวิบัติ การสำรวจดินเพื่อทำการออกแบบ การเลือกชนิดและความยาวของเสาเข็ม การคาดคะเนกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นเดียว การรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่ม

 

 

 

 

15 การออกแบบฐานรากของอาคารสูง (ต่อ) :
การเคลื่อนตัวของฐานรากเสาเข็ม การจำกัดการเคลื่อนตัวของอาคารสูง วิธีการคาดคะเนการทรุดตัว วิธีการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของเสาเข็มกลุ่มในแนวนอน

 

 

 

16  ระบบสุขาภิบาล (Sanitary System) :
ระบบประปา: การหาปริมาณการใช้น้ำ ถังเก็บน้ำที่พื้นดิน, ระบบจ่ายน้ำ: การควบคุมความดันในท่อจ่ายน้ำ น้ำกระแทก; ระบบระบายน้ำฝน